วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

                ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ข้าพเจ้าและกลุ่มนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน  เซค 1 กลุ่ม 4 ได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

               เริ่มแรก พี่พนิดา คะเณแสน วิทยากรแนะนำการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้แนะนำประวัติความเป็นมาของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี และได้แนะนำเรื่องการเข้าชมสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา สามารถเข้าชมได้ฟรี โดยการใส่ชุดนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา หรือแสดงบัตรประจำตัวนิสิต และได้แนะนำพี่นักศึกษาฝึกงาน 3 คน มาอธิบายความรู้ต่างๆ ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                      ซึ่งให้นิสิตแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และให้พี่นักศึกษาฝึกงานคุมแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ความรู้ต่างๆ
กลุ่มของข้าพเจ้าได้พี่นักศึกษาฝึกงาน ชื่อว่า พี่อัจฉรา ลาวิลาส(ปวส.2)
                   จุดแรกที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ฟังการอธิบายความรู้จากพี่อัจฉรา คือ โซนสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณน้ำขึ้น-น้ำลง และน้ำกร่อย-น้ำเค็ม (น้ำกร่อย คือ การผสมระหว่างน้ำจืด + น้ำเค็ม)
- ปลาเสือพ่นน้ำ : พ่นน้ำจับแมลงบนผิวน้ำ
- ดาวแสงอาทิตย์ : มี 7-9 แฉก เมื่อแฉกขาดสามารถงอกออกใหม่ได้ ส่วนวิธีฆ่าคือ ต้องฆ่ากลางลำตัวของมัน
- แมงดาจาน : สามารถทานได้ตลอดทั้งปี หางเป็นรูปสามเหลี่ยม
- กั้งกระดาน
- ปูบึ้ง

                 * เกร็ดความรู้เรื่องปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่สามารถอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลได้ เพราะปลาการ์ตูนมีลักษณะพิเศษ คือ มีเหมือกพิเศษ ที่ดอกไม้ทะเลไม่สามารถทำอะไรปลาการ์ตูนได้ ซึ่งดอกไม้ทะเลกินเศษปลาเป็นอาหาร
              
                   ปลาเศรษฐกิจ เป็นปลาที่สามารถกินได้ มีปลาสร้อยนกเขาลายตรง ปลาค้างคาว ปลานวลจันทร์ ปลาเฉลียบ ปลาตาเหลือกสั้น ปลาหัวแบน ปลาใบปอ ปลาฉลามกบ ปลานกกระลิง ปลาปักเป้าลายแผนที่ ฯลฯ

               ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็ง เพศผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องแทนเพศเมีย



มีกระบะทรายชนิดของหอยทะเล เช่น หอยนางรม หอยตลับ หอยขาว หอยแมลงภู่



               บริเวณชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีการจัดนิทรรศการเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยและเผยแพร่วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล

                       มีตู้แสดงความรู้ เรื่อง แพลงก์ตอนในทะเล ลูกโซ่อาหาร วงจรชีวิตสัตว์ทะเล ฯลฯ
                       มีของดองพวกต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในบริเวณป่าชายเลน

มีแผนภูมิต้นไม้อธิบายเรื่องอาณาจักรสัตว์ในทะเล ซึ่งถือเป็นวัสดุ 2 มิติ จัดอยู่ในวัสดุกราฟิก


และมีหุ่นจำลองปลาฉลาม ปลากระเบน ฯลฯ


ถือว่าการได้มาศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ความรู้เรื่องสัตว์ในทะเล ความมหัศจรรย์ของสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และอะไรอีกหลายอย่างมากมาย ซึ่งรู้สึกสนุกและได้ความรู้ติดตัวกลับมาอีกด้วย

ก่อนกลับพวกเราได้มาถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่บริเวณหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ต่างตะโกนเรียกเกรด A จากอาจารย์อุทิศกันยกใหญ่


จิรญา ;)))

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น