วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งประเภทสื่อการสอน

การแบ่งประเภทสื่อการสอน
*Educational  Media  สื่อการศึกษา
*Instructional  Media  สื่อการสอน



สื่อการสอน Instructional  Media
       หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน 
*ความสำคัญ - สื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ  เพราะสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้  ความคิด  ประสบการณ์และทักษะต่าง  ๆ ไปสู่ผู้เรียน  กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องใช้สื่อ  สื่อการสอนทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
*ประเภทของสื่อการสอน
     -  แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
    - แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
              - แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม  (Edgar  Dale)
Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material
สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
 แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 

 สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)
-  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ 
สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
 -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา   
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)
   -   สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือเทคนิค  ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้

สื่อการสอน  แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale
1.ประสบการตรงที่มีความหมาย
2.ประสบการณ์จำลอง
3.ประสบการณ์นาฏการ
4.การสาธิต
5.การศึกษานอกสถานที่
6.นิทรรศการ                                           
7.โทรทัศน์
8.ภาพยนตร์
9.ภาพนิ่ง
10.ทัศนสัญญลักษณ์
11.วัจนสัญญลักษณ์


1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย  (Direct  or  Purposeful  Experiences)  
              เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้  เรียนรู้ด้วยตนเอง  ลงมือปฏิบัติ  เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  เช่น  การฝึกทำอาหาร  การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์
2.ประสบการณ์จำลอง 
          เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง  อาจเป็นสิ่งของจำลอง  หรือสถานการณ์จำลอง  เช่น  การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง  Flight  Simulator

3.
                         
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง  (Dramatized  Experience)
                เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์  ในการแสดงบทบาทสมมุติ  หรือการแสดงละคร  นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
3.
 4.การสาธิต  (Demonstration)
                      เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย  เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ  เช่น การสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด

5. การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip)
                      เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว  หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ  ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
 6. นิทรรศการ  (Exhibits)
                    เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่าง  ๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ  หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้านนิเทศ

7. โทรทัศน์  (Television)
                   เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ  เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน  ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด  ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์  หรือเป็นรายการสดก็ได้  การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์

 8.ภาพยนตร์  (Motion  Picture)
                  เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว  มีเสียงประกอบ  และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม  มาเป็นสื่อในการสอน  ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง  หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ

9. ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง  (Recording, Radio, and  Still  Picture)
                เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจเนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10. ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols)
                  วัสดุกราฟิกทุกประเภท  เช่น  แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  แผนภาพ  การ์ตูนเรื่อง  หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย  การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี  เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์  หรืองานกราฟิก  ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย

11. วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol)
                 เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด  คำบรรยาย  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์พิเศษต่าง  ๆที่ใช้ในภาษาการเขียน  ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้  จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น