วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน


การเรียนในระดับอุดมศึกษากับการเรียนในระดับมัธยมศึกษานั้น ในความคิดของข้าพเจ้า มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อาจจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกันอยู่ แต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก การเรียนในระดับมัธยมศึกษานั้น เป็นการเรียนปูพื้นฐาน ปรับระดับให้นักเรียนทุกคนมีพื้นฐานเท่าเทียมกันตามสายที่ตนเรียน ไม่ว่าจะเป็นสายวิทย์ คณิต ศิลป์ภาษา ฯลฯ ซึ่งอาจจะง่ายต่อการเรียนของแต่ละคน แต่เมื่อก้าวมาเรียนในระดับอุดมศึกษาแล้ว การเรียนต่อยอดสาขาที่ตนถนัดนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะทุกคนต้องปรับพื้นฐานที่ตนได้เรียนมาในระดับมัธยมศึกษาให้ประยุกต์ใช้กับการเรียนในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีประโยชน์ที่สุด และต้องเหมาะสมกับความถนัดของตนด้วย ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ยากสำหรับข้าพเจ้า ในการเริ่มต้นการเรียนในระดับอุดมศึกษา แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ไม่มีสิ่งไหนที่เราทำไม่ได้ ขอแค่เพียงความขยัน พยายาม ความมุ่งมั่น และความอดทนของเรา ทุกอย่างที่เราคิดว่าเราไม่สามารถทำได้ เราอาจจะทำได้ดีจนประสบความสำเร็จก็อาจเป็นได้
               รายวิชา เทคโนโลยีการศึกษา 400202 เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ข้าพเจ้าไม่เคยเรียน ไม่เคยสัมผัสว่า การเรียนวิชานี้ต้องปฏิบัติตนอย่างไร ใช้ความรู้ด้านไหน หรือแม้กระทั่งต้องนำความรู้จากการเรียนในระดับมัธยมศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเรียนในรายวิชานี้อย่างไร จนเมื่อข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนในรายวิชานี้เป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าเริ่มจับจุดสำคัญว่า การเรียนวิชานี้เราต้องทำความเข้าใจในเรื่องใดมากที่สุด ปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ต่างๆ และสิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าจำได้ดีเป็นความรู้แรกในการเรียนรายวิชานี้ ก็คือ

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาของ AECT
1. Design - การออกแบบ
2. Development - การพัฒนา
3. Utilization - การใช้
4. Management - การจัดการ
5. Evaluation - การประเมิน
*เทคนิคการจำที่อาจารย์สอนให้ท่องคือ DDUME* ซึ่งทุกวันนี้ก็จำขึ้นใจจริงๆ อาจารย์มักจะเช็คชื่อโดยการเรียกรายชื่อและให้ทดสอบความจำ ความแม่นยำในการท่องขอบข่ายขอวเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิมไปด้วยในตัว

คาบเรียนต่อมาเท่าที่ข้าพเจ้าจำได้ คือ การได้ดูภาพยนต์สั้นเรื่อง "จ่อย นายแน่มาก"
http://www.youtube.com/watch?v=lTwC0sLiYns
http://www.youtube.com/watch?v=zi5atHT7FH8&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=hPTTD41cdQM&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=xOuTry0nXoo&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=JMSP0UW0aA8&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=Rb2xaZuF3-Y&feature=related
อาจารย์ให้ดูและวิเคราะห์ตามหัวข้อที่ได้เรียนคือ
ระบบ และการทำงานของระบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. Input - ปัจจัยนำเข้า
2. Process - กระบวนการ
3. Output - ผลลัพธ์
4. Control - ควบคุม ตรวจสอบ
5. Feedback - ข้อมูลป้อนกลับ
ซึ่งเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับ
ADDIE : Model
A : Analye - การวิเคราะห์
D : Design - การออกแบบ
D : Development - การพัฒนา
I  : Implementation - การนำไปใช้
E : Evaluation - การประเมินและปรับปรุง
และวันนั้นเมื่ออาจารย์ให้ดูภาพยนตร์จนจบ ซึ่งตอนจบของภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ ซึ้งมาก ซึ้งในความรักของแม่และจ่อย จึงทำให้อาจารย์ให้พวกเราพูดถึงความรู้สึกที่จากบ้านมาไกล มาเรียนไกลถึงมหาวิทยาลัยบูรพา ความรู้สึกต่างๆ พลั่งพลูออกมาจนอธิบายไม่ถูก อาจารย์ยังให้พวกเราเขียนความรู้สึกนั้นลงในกระดาษรายงาน และส่งในอาทิตย์ถัดไป 

สัปดาห์ถัดมา สัปดาห์ที่ 3 ในการเรียน
เริ่มต้นด้วย "Innovation" นวัตกรรม
เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วน อาจเป็นของเก่านำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หาก "สิ่งใหม่" นั้นได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้น ไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็นนวัตกรรม แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยี

นวัตกรรมการศึกษา - นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษาและประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การใช้ Computer ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์ปฏิสัมพันธ์ สื่อหลายมิติ เป็นต้น
ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา
- การเรียนการสอน
- สื่อการสอน
- ด้านหลักสูตร
- การประเมินผล
- การบริหารจัดการ
- อื่นๆ

ซึ่งคาบนี้ อาจารย์ให้พวกเราไปศึกษาค้นคว้าทำกิจกรรมท้ายคาบ ในหอสมุด ชั้น 4 ให้ค้นคว้างานนวัตกรรมทางการศึกษาจำนวน 2 นวัตกรรมที่ไม่ซ้ำประเภทกัน

สัปดาห์ถัดมา อาจารย์ให้ทำความรู้จักกับ Webblog คือ  การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว การมองโลกของเรา ความคิดเห็นของเราต่อเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นบทความเฉพาะด้าน
และอาจารย์ให้สร้าง Blog ของตัวเอง โดยเริ่มเข้าไปสมัครที่ http://www.blogger.com/ และเริ่มเขียนเรื่องราวต่างๆ ลงบน blog
ชื่อWebblogของข้าพเจ้า : 400202 Educational Technology 1-2554 / http://4aey54040788.blogspot.com/
หัวข้อแรกในการเขียน blog คือ "Education Technology My Dream"

นอกจากการสร้าง Webblog ของตัวเองแล้ว ยังได้เรียนเรื่อง
การสื่อสารและทฤษฎีการสื่อสาร
ความหมาย : เป็นกระบวนการถ่ายทอด/แลกเปลี่ยน เรื่องราว ความต้องการ ความคิดเห็น ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ ผ่านสื่อช่องทาง
ลักษณะการสื่อสาร :
1.วิธีการสื่อสาร
  1.1)การสื่อสารด้วยวาจา หรือ วจนภาษา (Oral Communication)
  1.2)การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ อวจนภาษา (Nonverbal Communication)
  1.3)การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัส หรือ การเห็น (Visual Communication)
2.รูปแบบของการสื่อสาร
  2.1)การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication)
  2.2)การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)
3.ประเภทของการสื่อสาร
  3.1)สื่อสารในตนเอง (Self-Communication)
  3.2)สื่อสารระหว่างบุคคล (Intrapersonal Communication)
  3.3)การสื่อสารแบบกลุ่มย่อย (Small group Communication)
  3.4)การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ (Large group Communication)
  3.5)การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งสาร (Source/Sender)
2.สาร (Message)
3.สื่อหรือช่องทาง (Media or Channel)
4.ผู้รับ (Receiver)
5.ผล (Effect)
6.ผลย้อนกลับ (Feedback)

อุปสรรคของการสื่อสาร
1.คำพูด (Verbalisn)
2.ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
3.ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent confusion)
4.การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
5.สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
6.การไม่ยอมรับ (Inperception)

หลังจากนั้นอาจารย์ให้พวกเราดูภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง
อาม่า
และ เหรียญของพ่อ
ล้วให้เลือกมาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง วิเคราะห์และตอบคำถามท้ายคาบ

*********************************************************************************
ถือว่าความรู้ที่สั่งสมตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เรียนในรายวิชานี้จนถึงปัจจุบันของข้าพเจ้านั้นมีมากพอสมควร แต่ข้าพเจ้าเองก็ยอมรับว่ายังจำได้ไม่ครบถ้วนหรือละเอียดพอ ดังนั้นข้าพเจ้าหวังว่า ในการเรียนครั้งต่อไป ข้าพเจ้าจะตั้งใจเรียน เป็นผู้ฟังที่ดี และปฏิบัติงานให้ดีขึ้นต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น