วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก

เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2554 นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สาขาการสอนภาษาจีน ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานแหล่งการเรียนรู้ ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา
             หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการท่องเที่ยวในภูมิภาคตะวันออก เป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรม แบบประเพณีและแบบร่วมสมัย ของนักเรียนนิสิตนักศึกษา ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี และยังเปิดให้บริการพื้นที่ในการจัดกิจกรรม และบริการวิชาการในระดับต่างๆ


แหล่งการเรียนรู้หมายถึงอะไร
   แหล่งข้อมูล ข่าวสาร ความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ได้ ด้วยตนเอง  จากการได้คิดเองปฏิบัติเอง  และสร้างความรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยและต่อเนื่องจนเกิดกระบวนการเรียนรู้และสุดท้ายก็เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก เหมาะกับการสอนกลุ่มสาระใด
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  เพราะ  หอศิลปวัฒนธรรมมีการจัดการแสดงเกี่ยวกับความเชื่อของศาสนา  ประเพณี  ประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณต่างๆ ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้มีความสอดคล้องโดยตรงกับกลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม


แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกนำเสนอรายละเอียดของเนื้อหาใดบ้าง
ชนต่างวัฒนธรรมในภาคตะวันออก
        ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออกได้แก่  คนชอง  คนจีน คนญวณ  คนลาวและไทยมุสลิม
คนชอง
     เป็นชนพื้นเมืองกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในเขตป่าภาคตะวนออก บริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี  ตราด  ชอบอาศัยอยู่ตามป่าเขา ที่ราบระหว่างหุบเขาซึ่งเป็นป่าทึบ
คนจีน
    เข้ามาตั้งรกรากในภาคตะวันออกตั้งแต่อยุธยาสืบเนื่องถึงสมัยรัตนโกสินทร์  โดยเฉพาะตามเมืองท่าชายทะเล  ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านเศรษฐกิจการค้า  การประมง
คนญวณ
     สมัยรัชกาลที่
1
  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  กลุ่มชาวญวณได้อพยพเข้ามายังดินแดนประเทศไทยครั้งใหญ่และได้ตั้งถิ่นฐานกระจายกันออกไป
คนลาว
       ดินแดนภาคตะวันออกตั้งแต่เขตนครนายก ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ไปยังชลบุรีนั้นชุมชนบ้านเมืองส่วนใหญ่เกิดจากการกระจายตัวของพวกลาว
คนไทยมุสลิม
         มี
2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากมลายูและเขมร
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก
    แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์  มีความสำคัญในฐานะที่แสดงถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเลที่สะท้อนภาพความเป็นอยู่  และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
     -แหล่งโบราณคดีหนองโน  จังหวัดชลบุรี
       นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณทีมีอายุถึง 
4,5004,000
ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
    -แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี จังหวัดชลบุรี

       นำเสนอเรื่องราวของแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์  อายุ 4,5004,000 ปี มาแล้ว ซึ่งพึ่งพาอาหารจากทะเลเป็นหลักและมีการอยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานกว่า  400
ปี
  -เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
      นำเสนอเรื่องราวของเมืองศรีมโหสถ  เมืองโบราณสำคัญในสมัยวัฒนธรรมทวารวดี  ซึ่งมีพัฒนาการมาจากสถานีการค้าสำคัญ มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายถึงสมัยทวารวดี

E อิทธิพลความเชื่อและศาสนาในเมืองโบราณศรีมโหสถ
นำเสนออิทธิพลความเชื่อและศาสนาหลากหลายวัฒนธรรมที่เข้ามามีบทบาทในเมืองศรีมโหสถ ปรากฏเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก  เช่น พระวิษณุจตุรภุช หรือพระวิษณุ 4 กร  เป็นเทวรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์
วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยาม ประเทศเป็นอย่างไร
     บริเวณภาคตะวันออกนับเป็นดินแดนที่มีการติดต่อทางทะเลกับบ้านเมืองภายนอกมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สืบเนื่องต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 อันเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดีย มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น เกิดเป็นกลุ่มบ้านเมืองที่มีพัฒนาการร่วมสมัยกับกลุ่มบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนมากในภาคตะวันออกซึ่งดินแดนที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม คือ อาณาจักรเขมรโบราณและวัฒนธรรมทวารวดี

บันทึกภาพตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar daleพร้อมคำอธิบาย


v การศึกษานอกสถานที่


วันที่  24 สิงหาคม 2554ในคาบวิชาเทคโนโลยีการศึกษา อาจารย์ได้พานิสิตไปทัศนศึกษาที่
หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก ในมหาวิทยาลัยบูรพา


v นิทรรศการ

ห้องนิทรรศการหมุนเวียนทางศิลปะ  ซึ่งในช่วงนี้จะแสดงเกี่ยวกับภาพปักด้วยเส้นผมและวัฒนธรรมการตัดกระดาษของจีน


v โทรทัศน์

 
 ใช้ฉายวีดีทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเมืองมโหสถในเรื่อง โบราณสถานพานหิน  แนวคันดินโบราณ  คูน้ำและคันดิน  สระน้ำโบราณ  สระแก้ว  คูลูกศร  เจดีย์ภูเขาทอง  รอยพระพุทธบาทคู่  และต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ


                                                                   ภาพถ่ายกลุ่ม มีสมาชิกดังนี้
                                                           นางสาวเรณู จิตนิยมศิลป์ 54040180
                                                           นางสาววรรษมน อยู่ประเสริฐ 54040419
                                                           นางสาวจิรญา วงศ์ใหญ่ 54040788
                                                          ศึกษาศาสตร์ เอกการสอนภาษาจีน ปี 1


v ภาพยนตร์
นำเสนอวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งที่จัดแสดงในหอศิลปวัฒนธรรมนี้
v ทัศนสัญลักษณ์

จะอยู่ในรูปแบบวัสดุกราฟิก  แผนผังเมืองศรีมโหสถ  แผนภาพแสดงวิถีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ป้ายนิเทศ  ของตัวอย่างจำพวก ภาชนะเครื่องใช้โบราณ  ตู้อันตรทัศน์แสดงเกี่ยวกับ  การฝังศพในสมัยก่อนประวัติศาสตร์  วิถีชีวิตของผู้คนชายฝั่งทะเลในสมัยก่อนประวัติศาสตร์    หุ่นจำลองรูปลุงทอง  พระกำลังกวาดลานวัด  ยายมา  นักจิตรกรรม
 

v วัจนสัญลักษณ์

มีพี่เนมซึ่งทำหน้าที่เป็นวิทยากรมาให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่จัดแสดงในหอศิลปวัฒนธรรม

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ "ก้าวแรกภาษาจีน"




               
            วันนี้พี่อาร์ตและพี่เอย มีสื่อวีดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ดีๆ มานำเสนอทุกคน            
"ก้าวแรกภาษาจีน"

Input (ปัจจัยนำเข้า)
ผู้เรียน      :  นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียน   :  รัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ
กลุ่มสาระ :  การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
วิชา           :  ภาษาจีน


Process (กระบวนการผลิต)
1. วางแผนการผลิต  คือ ตั้งวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถเรียนรู้ พูด อ่าน เขียนคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
2.ขั้นหลังการถ่ายทำ  
     - เขียนบทเรียนโดยอ้างอิงจากหนังสือ 说汉语 พูดจีนจากจินตภาพ
- คัดเลือกรูปภาพที่มีเนื้อหาตรงตามบทเรียน
- จัดลำดับรูปภาพและเนื้อหาตามบทเรียนที่วางแผนไว้
- จัดรูปแบบการนำเสนอ (Visual Effect)
- เพิ่มเสียงเพลงประกอบการนำเสนอ
3.ขั้นหลังการถ่ายทำ
ทดสอบความถูกต้องของลำดับภาพและเนื้อหา จากนั้นนำไฟล์ข้อมูลลง www.youtube.com และคัดลอก Link เพื่อเผยแพร่ใน Webblog


Output (ผลลัพธ์)
ได้บทเรียนวีดีทัศน์เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้น

Feedback (ผลตอบกลับ)
นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถสามารถเรียนรู้ พูด อ่าน เขียนคำศัพท์และบทสนทนาภาษาจีนเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม



ผู้ผลิต

นางสาวจิรญา วงศ์ใหญ่ รหัสนิสิต 54040788
นายนวพล แก้วทรัพย์ทวีกุล  รหัสนิสิต 54040870

คณะศึกษาศาสตร์ การสอนภาษาจีน
มหาวิทยาลัยบูรพา



วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

                ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ข้าพเจ้าและกลุ่มนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาจีน  เซค 1 กลุ่ม 4 ได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี

               เริ่มแรก พี่พนิดา คะเณแสน วิทยากรแนะนำการเข้าชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ได้แนะนำประวัติความเป็นมาของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี และได้แนะนำเรื่องการเข้าชมสำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา สามารถเข้าชมได้ฟรี โดยการใส่ชุดนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา หรือแสดงบัตรประจำตัวนิสิต และได้แนะนำพี่นักศึกษาฝึกงาน 3 คน มาอธิบายความรู้ต่างๆ ภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                      ซึ่งให้นิสิตแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม และให้พี่นักศึกษาฝึกงานคุมแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ความรู้ต่างๆ
กลุ่มของข้าพเจ้าได้พี่นักศึกษาฝึกงาน ชื่อว่า พี่อัจฉรา ลาวิลาส(ปวส.2)
                   จุดแรกที่กลุ่มของข้าพเจ้าได้ฟังการอธิบายความรู้จากพี่อัจฉรา คือ โซนสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่บริเวณน้ำขึ้น-น้ำลง และน้ำกร่อย-น้ำเค็ม (น้ำกร่อย คือ การผสมระหว่างน้ำจืด + น้ำเค็ม)
- ปลาเสือพ่นน้ำ : พ่นน้ำจับแมลงบนผิวน้ำ
- ดาวแสงอาทิตย์ : มี 7-9 แฉก เมื่อแฉกขาดสามารถงอกออกใหม่ได้ ส่วนวิธีฆ่าคือ ต้องฆ่ากลางลำตัวของมัน
- แมงดาจาน : สามารถทานได้ตลอดทั้งปี หางเป็นรูปสามเหลี่ยม
- กั้งกระดาน
- ปูบึ้ง

                 * เกร็ดความรู้เรื่องปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเล มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่สามารถอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลได้ เพราะปลาการ์ตูนมีลักษณะพิเศษ คือ มีเหมือกพิเศษ ที่ดอกไม้ทะเลไม่สามารถทำอะไรปลาการ์ตูนได้ ซึ่งดอกไม้ทะเลกินเศษปลาเป็นอาหาร
              
                   ปลาเศรษฐกิจ เป็นปลาที่สามารถกินได้ มีปลาสร้อยนกเขาลายตรง ปลาค้างคาว ปลานวลจันทร์ ปลาเฉลียบ ปลาตาเหลือกสั้น ปลาหัวแบน ปลาใบปอ ปลาฉลามกบ ปลานกกระลิง ปลาปักเป้าลายแผนที่ ฯลฯ

               ม้าน้ำ เป็นปลากระดูกแข็ง เพศผู้จะเป็นฝ่ายอุ้มท้องแทนเพศเมีย



มีกระบะทรายชนิดของหอยทะเล เช่น หอยนางรม หอยตลับ หอยขาว หอยแมลงภู่



               บริเวณชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มีการจัดนิทรรศการเรื่องระบบนิเวศป่าชายเลน จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยและเผยแพร่วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล

                       มีตู้แสดงความรู้ เรื่อง แพลงก์ตอนในทะเล ลูกโซ่อาหาร วงจรชีวิตสัตว์ทะเล ฯลฯ
                       มีของดองพวกต้นไม้ ใบไม้ ที่อยู่ในบริเวณป่าชายเลน

มีแผนภูมิต้นไม้อธิบายเรื่องอาณาจักรสัตว์ในทะเล ซึ่งถือเป็นวัสดุ 2 มิติ จัดอยู่ในวัสดุกราฟิก


และมีหุ่นจำลองปลาฉลาม ปลากระเบน ฯลฯ


ถือว่าการได้มาศึกษานอกสถานที่ ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี
ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ความรู้เรื่องสัตว์ในทะเล ความมหัศจรรย์ของสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อน และอะไรอีกหลายอย่างมากมาย ซึ่งรู้สึกสนุกและได้ความรู้ติดตัวกลับมาอีกด้วย

ก่อนกลับพวกเราได้มาถ่ายรูปหมู่ร่วมกันที่บริเวณหน้าสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี บรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ต่างตะโกนเรียกเกรด A จากอาจารย์อุทิศกันยกใหญ่


จิรญา ;)))

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งประเภทสื่อการสอน

การแบ่งประเภทสื่อการสอน
*Educational  Media  สื่อการศึกษา
*Instructional  Media  สื่อการสอน



สื่อการสอน Instructional  Media
       หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดความรู้  ประสบการณ์  ความคิดและทักษะต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน 
*ความสำคัญ - สื่อเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ  เพราะสื่อจะเป็นตัวการสำคัญที่นำเอาความรู้  ความคิด  ประสบการณ์และทักษะต่าง  ๆ ไปสู่ผู้เรียน  กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องใช้สื่อ  สื่อการสอนทำให้ความเป็นนามธรรมไปสู่รูปธรรม
*ประเภทของสื่อการสอน
     -  แบ่งตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน
    - แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
              - แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากธรรมไปสู่นามธรรม  (Edgar  Dale)
Percival  and  Ellington(1984)  และ  De  Kieffer  (1965)  ได้แบ่งสื่อการสอนตามลักษณะภายนอกและคุณสมบัติของสื่อการสอน  มี  3  ประเภท
สื่อที่ไม่ต้องฉาย  (non  projected  material)
สื่อที่ต้องฉาย  (projected  material
สื่อที่เกี่ยวกับเสียง  (Audio material )
 แบ่งตามแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา
1.  วัสดุ  -  สื่อที่ผลิตขึ้น  เช่น  รูปภาพ  แผนภูมิ
2.  อุปกรณ์  -  เครื่องมืออุปกรณ์  สำเร็จรูป  ทั้งที่สามารถใช้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  หุ่นจำลอง  และสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับวัสดุ  เช่น  วีดิทัศน์  สไลด์
3.  วิธีการ  -  กิจกรรม  เกม  ศูนย์การเรียน  ทัศนศึกษา  สถานการณ์จำลอง  แหล่งความรู้ชุมชน 

 สื่อการสอนประเภทวัสดุ  (Software  or  Material)
-  เป็นสิ่งที่ได้รับบรจุเนื้อหาสาระเรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่าง ๆ 
สื่อการสอนอุปกรณ์  (Hardware)
 -  เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล  ความรู้  หรือสาระ  ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา   
สื่อการสอนประเภทเทคนิคและวิธีการ(Techniques  and  Methods)
   -   สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด  รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน  หรือเทคนิค  ที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์  แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้

สื่อการสอน  แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมของ  Edgar Dale
1.ประสบการตรงที่มีความหมาย
2.ประสบการณ์จำลอง
3.ประสบการณ์นาฏการ
4.การสาธิต
5.การศึกษานอกสถานที่
6.นิทรรศการ                                           
7.โทรทัศน์
8.ภาพยนตร์
9.ภาพนิ่ง
10.ทัศนสัญญลักษณ์
11.วัจนสัญญลักษณ์


1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย  (Direct  or  Purposeful  Experiences)  
              เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้  เรียนรู้ด้วยตนเอง  ลงมือปฏิบัติ  เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า  เช่น  การฝึกทำอาหาร  การทดลองต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโปรเจคเตอร์
2.ประสบการณ์จำลอง 
          เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง  อาจเป็นสิ่งของจำลอง  หรือสถานการณ์จำลอง  เช่น  การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง  Flight  Simulator

3.
                         
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง  (Dramatized  Experience)
                เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนรู้จากประสบการณ์  ในการแสดงบทบาทสมมุติ  หรือการแสดงละคร  นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่มีข้อจำกัดในเรื่องยุคสมัยเวลา
3.
 4.การสาธิต  (Demonstration)
                      เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย  เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ  เช่น การสาธิตอาบน้ำเด็กแรกเกิด

5. การศึกษานอกสถานที่  (Field  Trip)
                      เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว  หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ  ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
 6. นิทรรศการ  (Exhibits)
                    เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่าง  ๆที่ได้จัดแสดงไว้ในลักษณะของนิทรรศการ  หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้านนิเทศ

7. โทรทัศน์  (Television)
                   เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ  เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน  เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรือทางบ้าน  ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด  ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์  หรือเป็นรายการสดก็ได้  การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์

 8.ภาพยนตร์  (Motion  Picture)
                  เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว  มีเสียงประกอบ  และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิล์ม  มาเป็นสื่อในการสอน  ผู้เรียนจะเรียนรู้หรือได้ประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง  หรือจากภาพอย่างเดียวถ้าเป็นภาพยนตร์เงียบ

9. ภาพนิ่ง  วิทยุ  และแผ่นเสียง  (Recording, Radio, and  Still  Picture)
                เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็นภาพนิ่ง  วิทยุ  หรือเทปบันทึกเสียง  เพื่อให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว  เช่น  สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ  สไลด์  หรือภาพวาด  ภาพล้อ  หรือภาพเหมือนจริง  ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ  สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟัง  ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้  ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก  ก็สามารถเข้าใจใจเนื้อหาบทเรียนได้  เนื่องจากเป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10. ทัศนสัญญลักษณ์  (Visual  Symbols)
                  วัสดุกราฟิกทุกประเภท  เช่น  แผนที่  แผนภูมิ  แผนสถิติ  แผนภาพ  การ์ตูนเรื่อง  หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย  การใช้สื่อประเภทนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายจึงจะเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อเป็นอย่างดี  เนื้อหาจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์  หรืองานกราฟิก  ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย

11. วจนสัญญลักษณ์  (Verbal  Symbol)
                 เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด  คำบรรยาย  ตัวหนังสือ  ตัวเลข  หรือสัญลักษณ์พิเศษต่าง  ๆที่ใช้ในภาษาการเขียน  ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้  จัดว่าประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด